กระดานสนทนานักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กรุณา log in เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น

Join the forum, it's quick and easy

กระดานสนทนานักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กรุณา log in เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น
กระดานสนทนานักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Latest topics
» 4 คุณสมบัติการสมัครงาน ที่อาจเป็นกับดัก ล่อให้เราตกหลุมพราง
by max17 Tue Feb 27, 2018 10:53 am

» แจกชีท และสรุปหน้าราม ของคณะสื่อสารมวลชนค่ะ
by peachyz Sun Nov 19, 2017 12:54 pm

» หนังสือเสียง 10131 สังคมมนุษย์ มสธ.
by worapolh Thu May 11, 2017 3:33 pm

» หนังสือเสียง PY332 PY235 PY331 PY234 PY225 PY103
by worapolh Thu May 11, 2017 3:33 pm

» หนังสือเสียง HI368 ประวัติศาสตร์จักรวรรดิจีน
by worapolh Thu May 11, 2017 3:30 pm

» หนังสือเสียงตำราเรียนวิชา PY225 ปรัชญาจีน
by worapolh Thu Apr 06, 2017 7:42 pm

» หนังสือเสียงตำราเรียนวิชา PY234
by worapolh Thu Apr 06, 2017 7:41 pm

» หนังสือเสียงตำราเรียนวิชา PY103
by worapolh Thu Apr 06, 2017 6:37 pm

» หนังสือเสียงรามฟรีครับ HI330
by worapolh Wed Mar 29, 2017 5:53 pm

» มีหนังสือและชี๊ทขายครับตามที่อาจารย์สอนและแถมมีจดคำถามข้อสอบหรือคำตอบข้อสอบด้วยครับ
by tonpongsuwat Tue Jan 24, 2017 2:48 pm

» เราสามารถลงวิชาโท ของคณะอื่นได้ไหมครับ
by dentatus Sun Nov 06, 2016 1:13 pm

» แนวข้อสอบ ENS3401
by tonaorza97 Mon Oct 31, 2016 7:05 pm

» แนวข้อสอบ ENS3401
by tonaorza97 Mon Oct 31, 2016 7:04 pm

» สอบถามการเรียนวิชาเอกภาษาจีนที่ราม
by kendo89 Sun Oct 30, 2016 8:04 pm

» ขายหนังสือคณะประวัติศาสตร์
by tonpongsuwat Fri Sep 23, 2016 9:54 pm

» ขายหนงสือคณะปรัชญา
by tonpongsuwat Fri Sep 23, 2016 9:54 pm

LIKE & SHARE THIS PAGE


ติดต่อผู้ดูแลบอร์ด

ตัวอย่างข้อสอบ PY103 ส่วนภูมิภาค

2 posters

Go down

ตัวอย่างข้อสอบ PY103 ส่วนภูมิภาค Empty ตัวอย่างข้อสอบ PY103 ส่วนภูมิภาค

ตั้งหัวข้อ by MongioMC Mon Jul 04, 2011 11:13 am

จาก [You must be registered and logged in to see this link.]




PY103


�� คำสั่ง
ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด
100 ข้อ)
1. ข้อใดอธิบายความหมาย Philosophy ได้ถูกต้องที่สุด
(1) ต่างศึกษาหาความรู้เพื่อเกิดศรัทธา (2) โด่งศึกษาหาความรู้เพื่อเกียรติยศ
(3) เด่นศึกษาหาความรู้เพื่อความรู้
(4) ดำศึกษาหาความรู้เพื่อความศรัทธา เกียรติยศ และความรู้
ตอบ 3 คำว่า “ปรัชญา”
เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งใช้
แปลคำว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึง
ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะ
เป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น
หรือความรักใน
ความรู้ อันเป็นความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้หรือมีความสงสัย
2. ท่าทีทางปรัชญาที่จะช่วยให้เรามีปัญญาเข้าถึงความรู้ความจริงคือข้อใด
(1) เหตุผล (2) ความศรัทธา (3) จินตนาการ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 การที่ปรัชญาช่วยให้มนุษย์มีปัญญาเข้าถึงความรู้หรือความจริงอันสูงสุด
เนื่องจากมนุษย์จะไม่
ยอมรับสิ่งใด ๆ โดยง่ายดาย แต่จะเป็นคนช่างสงสัยใคร่รู้ในปัญหาต่าง
ๆ อยู่ตลอดเวลา และจะ
ใช้ความสามารถทางด้านเหตุผลในการไตร่ตรองหรือใช้ปัญญาขบคิดเพื่อแสวงหาคำตอบหรือ
ความเชื่อที่เป็นไปได้ในสิ่งที่ตนยังสงสัยรวมทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อในสิ่งที่ตนยังคิดว่า
เป็นปัญหาอยู่อย่างมีเหตุผล
3. ตัวอย่างข้อใดเป็นคำถามทางปรัชญา
(1) อะตอมประกอบโปรตอน อีเล็กตรอน นิวตรอน
(2) มนุษย์เป็นสิ่งจำกัด จะเข้าถึงสิ่งที่ไม่จำเป็นได้อย่างไร
(3) น้ำประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ส่วน ออกซิเจน 1
ส่วน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ปัญหาปรัชญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ปรัชญาบริสุทธิ์ คือ ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะไม่
เกี่ยวข้องกับข้อสรุปของวิชาอื่น ๆ เช่น ความเป็นจริงคืออะไร เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร
เราต้องปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ฯลฯ
2. ปรัชญาประยุกต์ คือ
ปัญหาปรัชญาเฉพาะเรื่องที่พาดพิงกับผลสรุปของวิชาอื่น ๆ ที่แยกตัว
ออกจากวิชาปรัชญาแล้ว เช่น ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคม
ปรัชญา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
ข้อสอบ PY 103 2
4. ปัญหาปรัชญาที่ว่ามนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้องอ้างเทพเจ้าได้หรือไม่
คือ
ปัญหาของนักปรัชญาท่านใด
(1) ธาเลส (2) เซนต์ ออกัสติน (3) พระพุทธเจ้า (4) ขงจื๊อ
ตอบ 1 ธาเลส
เป็นปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยเริ่มต้นที่เชื่อว่า มนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์
ธรรมชาติต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องอ้างเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า
ปรากฏการณ์ธรรมชาติวิวัฒนาการมาจากสารเบื้องต้นหรือปฐมธาตุเดียวกัน คือ
น้ำ
5. ปัญหาปรัชญาของโซฟิสต์และโสคราตีสคือข้อใด
(1) วิธีคิดใดเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุดเพื่อความรู้ที่แท้จริงที่สุด
(2) มนุษย์มีความสามารถรู้ความจริงได้หรือไม่
(3) มนุษย์มีความสามารถพิชิตธรรมชาติได้หรือไม่
(4) มนุษย์จะประนีประนอมหลักศรัทธาและหลักเหตุผลได้อย่างไร
ตอบ 2 ปัญหาทางปรัชญาของนักปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยรุ่งเรือง
คือ ปัญหาเรื่องสมรรถภาพหรือ
ความสามารถของมนุษย์ที่จะรู้ความเป็นจริงได้หรือไม่ ซึ่งนักปรัชญาที่สำคัญในยุคสมัยนี้
ได้แก่
โซฟิสต์ โสคราตีส เพลโต และอริสโตเติล
6. ข้อใดคือลักษณะของการตอบคำถามของนักปรัชญา
(1) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาคนเดียวกันมีหลายคำตอบ
(2) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาหลายคนมีคำตอบคำตอบเดียว
(3) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาหลายคนมีคำตอบต่างกัน
(4) ปัญหาเดียวกัน มีหลายคำตอบ แต่เป็นไปได้คำตอบเดียว
ตอบ 3 ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของปรัชญา ก็คือ แม้แต่คำตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้นนักปรัชญา
หลายคนก็อาจมีคำตอบที่แตกต่างกัน โดยยังไม่มีการกำหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคำตอบใด
เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งวิชาปรัชญาถือว่าคำตอบทุกคำตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น
7. ปรัชญากรีกเริ่มต้นจากนักปรัชญาสสารนิยม คือ ธาเลส
และพัฒนาไปถึงนักปรัชญาจิตนิยม คือเพลโต
เราสามารถอธิบายปรัชญากรีกได้ว่า
(1) ปรัชญากรีกเริ่มตันตั้งแต่ขั้นหยาบสุด
คือความรู้ที่อาศัยอายตนะภายนอกแท้ ๆ ไปจนถึงขั้นที่ใช้
เหตุผลล้วน ๆ
(2) เริ่มต้นมองหาความจริงจากภายนอกแล้วย้อนมองหาความจริงจากภายใน
(3) มนุษย์มีปัญญาเข้าถึงความจริง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ลักษณะสำคัญของปรัชญากรีก คือ มีความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีปัญญาเข้าถึงความจริงโดยจะเริ่มต้น
ตั้งแต่ขั้นหยาบที่สุดที่อาศัยการมองหาความจริง หรือความรู้จากอายตนะภายนอกแท้ๆ
ไปจนถึง
การใช้เหตุผลที่เกิดจากปัญญาภายในของมนุษย์
ข้อสอบ PY 103 3
8. ข้อใดอธิบายความหมายอภิปรัชญาได้ถูกต้องที่สุด
(1) โลกที่ปรากฏเป็นจริงหรือไม่ หรือมีความจริงแท้ที่อยู่เบื้องหลัง
(2) ความรู้นำไปสู่ความจริง
(3) แบบแห่งการประพฤตินำไปสู่ความจริง (4) การศึกษาปรัชญาหลังปรัชญา
ตอบ 1 อภิปรัชญา เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง
“ความเป็นจริงคืออะไร” โดยมุ่ง
ที่จะสืบค้นไปถึงสิ่งที่จริงที่สุด ซึ่งอาจซ่อนอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ของโลกที่ปรากฏต่อผัสสะ
ของมนุษย์ หรือสิ่งที่อยู่ล่วงเลยขอบเขตของสสาร (อสสาร)
ซึ่งแยกออกได้เป็น 3 ปัญหา คือ
1. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลก
2. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของจิต
3. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของพระเจ้า
��[color=#333333][font="] ตั่งแต่ข้อ
9. - 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) สสารนิยม (2) จิตนิยม (3) ธรรมชาตินิยม (4) ประสบการณ์นิยม
9. คำกล่าวที่ว่า “สิ่งที่มองเห็นไม่ใช่สิ่งจริง
สิ่งที่จริงคือสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แต่รู้หรือเข้าใจได้ด้วย
ใจหรือความคิด” ตัวอย่างข้างต้น จัดเข้าอยู่กลุ่มอภิปรัชญาสำนักใด
ตอบ 2 ลัทธิจิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริงแต่ยังมีสิ่งที่จริงกว่า
วัตถุและสสารอีกอย่างหนึ่งที่จับต้องไม่ได้ มองเห็นไม่ได้
ไม่มีตัวตนมีอยู่เป็นนิรันดร หรือมี
สภาวะเป็นอมตะ ไร้อายุขับ และไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลาซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร
(Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น แบบ วิญญาณ พระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกำเนิดหรือ
ต้นแบบของวัตถุ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้ จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็น
จริงเท่านั้น
10. “ฉันเห็นม้าเป็นม้า ฉันไม่ได้เห็นแบบของม้า” ตัวอย่างข้างต้น จัดเข้าอยู่กลุ่มอภิปรัชญาสำนักใด
ตอบ 1 สสารนิยม เชื่อว่าโลกของวัตถุ
จักรวาลของสสาร เป็นระบบที่สมบูรณ์ในตัวเองโลกของสสาร
เป็นที่เข้าใจได้โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงสิ่งที่อยู่นอกโลกของสสาร เช่น
พระผู้เป็นเจ้า หรือแบบของ
เพลโต เป็นต้น
11. เอ็มพิโดเคลสอธิบายการเปลี่ยนแปลงของวัตถุที่เกิดและดับสลายอย่างไร
(1) พระเจ้ากำหนด (2) สวมแบบใหม่
(3) การเปลี่ยนแปลงของอะตอม (4) การรวมตัวและแยกตัวของปฐมธาตุ
ตอบ 4 เอ็มพิโดเคลส เห็นว่า วัตถุต่าง ๆ ที่เห็นนั้น
มิได้เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดแต่ประกอบด้วยหน่วย
ของความเป็นจริงถึง 4 หน่วยที่แตกต่างกัน
ซึ่งมีมาตั้งแต่เดิม ไม่มีเกิด ไม่มีสลาย การเกิดของ
สิ่งหนึ่งเป็นเพียงการเข้าไปรวมกันของปฐมธาตุทั้ง 4 และการดับนั้นก็เป็นเพียงการแยกตัวของ
ปฐมธาตุเท่านั้น
ข้อสอบ PY 103 4
12. ข้อใดคือความหมายของทฤษฎีทอนลง
(1) วัตถุมีอายุสั้นลงทุกปี (2) ปริมาณของวัตถุจะค่อย
ๆ ลดลง
(3) จุดกำเนิดของวัตถุไม่สามารถอาจสืบค้นได้ (4) วัตถุสามารถแยกย่อยจนถึงหน่วยสุดท้าย
ตอบ 4 สสารนิยมยอมรับแนวคิดเรื่องการทอนลง โดยเชื่อว่าสิ่ง
ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อย
จนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม โดยอะตอมจะไม่มีองค์ประกอบจึงไม่อาจแบ่งย่อยได้
จะสลายก็ไม่ได้ และเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่ได้
13. อะตอมในทัศนะของเดโมคริตัสมีคุณสมบัติอย่างไร
(1)อะตอมครอบครองที่ มีรูปร่าง มีน้ำหนัก (2) อะตอมมีสี
กลิ่น และรส
(3) อะตอมมีการเกิดใหม่ สูญหาย และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (4) อะตอมเป็นวัตถุที่เล็กที่สุด
ตอบ 1 เดโมคริตัส มีแนวความคิดว่า
อะตอมเป็นสสารที่ครอบครองที่ เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิมไม่มีการ
เกิดขึ้นใหม่ และไม่มีการสูญหายหรือเปลี่ยนแปลง โดยอะตอมเหล่านี้มีจำนวนมากมายนับไม่
ถ้วน และเป็นสิ่งที่ปราศจากคุณสมบัติใด ๆ จะมีก็แต่รูปร่างและน้ำหนักเท่านั้น
นอกจากนี้
อะตอมยังเป็นหน่วยย่อยที่สุดหรือเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด
14. ในทัศนะของเดโมคริตัส “ความสวย” คือ
(1) ไม่เที่ยง (2) เป็นคุณค่ามีอยู่จริงเป็นภาวะวิสัย
(2) เป็นคุณค่ามีอยู่จริงเป็นอัตวิสัย (4) สมมติ
ตอบ 4 เดโมคริตัส กล่าวว่า
วัตถุแห่งสัมผัสสะทั้งหลายที่เรารู้จัก เช่น ความสวย ความงาม ความดี
ความร้อน รสหวาน รสขม เป็นสิ่งที่เราไปสมมติให้เป็นจริง และเป็นความเคยชินที่เราไป
ยึดถือ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ อะตอมและช่องว่างเท่านั้นที่เป็นจริง
15. เพราะเหตุใดความคิดทางจิตนิยมจึงจัดเป็นทวินิยม
(1) พระเจ้าหนึ่งเดียวสร้างโลกมา (2) จิตและโลกเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน
(3) โลกเกิดจากอสสาร (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 สาเหตุที่ลัทธิจิตนิยมมีลักษณะเป็นทวินิยม
คือ จิตนิยม เชื่อว่า นอกจากสสารหรือวัตถุแล้ว ยังมี
“ของจริง” อีกอย่างหนึ่งที่จับต้องไม่ได้และไม่มีตัวตน
ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial)
เช่น ชาวคริสต์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและเป็นผู้สร้างแบบต่าง
ๆ ขึ้นมา ฯลฯ
16. ข้อใดแสดงถึงความคิดลัทธิจิตนิยม
(1) คุณค่าเกิดขึ้นจากมนุษย์
(2) จิตเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการอันยาวนานของโลก
(3) จักรวาลมีกฎ มีระเบียบแบบแผน
(4) ความดี ความงามสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและสังคม
ข้อสอบ PY 103 5
ตอบ 3 ลัทธิจิตนิยม ถือว่า เนื้อแท้ของโลกมิใช่มีเพียงสสารหรือวัตถุเท่านั้น
แต่ยังประกอบด้วยอสสาร
หรือจิตที่เป็นหลักสำคัญที่ทำให้โลกของวัตถุมีระเบียบกฏเกณฑ์และไม่เกิดความสับสนอลหม่าน
นอกจากนี้ยังถือว่า คุณค่าทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกของวัตถุหรือโลกของมนุษย์มีต้นตออยู่ที่อสสาร
ด้วย เช่น ความจริง ความดี ความงาม ความยุติธรรม ฯลฯ
เป็นคุณค่าที่แท้จริงในตัวเอง มิใช่
สิ่งที่มนุษย์คิดหรือตั้งขึ้นมา ดังนั้นมนุษย์จึงควรค้นหาคุณค่าเหล่านี้ให้พบ
17. เพลโตมีแนวความคิดตามข้อใด
(1) แบบเป็นสิ่งชั่วคราว (2) แบบเป็นสิ่งไม่เปลี่ยนแปลง
(3) มนุษย์คิดค้นเรื่องโลกของแบบ (4) แบบอยู่ภายในโลกนี้
ตอบ 2 เพลโต ได้อธิบายว่า
โลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นสิ่งเที่ยงแท้ สมบูรณ์ไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง และอยู่ล่วงเลยขอบเขตของวัตถุ รวมทั้งยังเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส
ซึ่งแบบเป็นอสสารที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้
และเป็นหลักสำคัญให้โลกวัตถุมีอยู่
ได้ เช่น ล้อรถยนต์ ลูกบอล นาฬิกา ทรงกลม ฯลฯ แม้วัตถุนี้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็จำลอง
มาจากแบบเดียวกัน คือ “ความกลม” และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล
18. ล้อรถยนต์ ลูกบอล มีความสัมพันธ์กันอย่างไรในทัศนะของเพลโต
(1) มีลักษณะร่วมกันคือวัตถุในโลก
(2) มีลักษณะร่วมกันคือวงกลม
(3) มีลักษณะร่วมกันคือเป็นแบบให้กับวัตถุวงกลม
(4) ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ
19. ธรรมชาตินิยมให้ความสำคัญกับสิ่งใด
(1) จิต (2) สสาร
(3) สิ่งอยู่ในอวกาศและเวลา (4) ทฤษฎีการทอนลง
ตอบ 3 ธรรมชาตินิยม เห็นว่า
สิ่งธรรมชาติจะต้องมีลักษณะ 2 ประการ คือ
1. เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในระบบของอวกาศ--เวลา
2. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับลง โดยมีสาเหตุที่เป็นธรรมชาติ
20. เพราะเหตุใดความคิดทางธรรมชาตินิยมจึงจัดเป็นพหุนิยม
(1) พระเจ้าสร้างโลกมีความหมายหลากหลาย (2) จิตและโลกเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน
(3) โลกเกิดจากสสาร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ธรรมชาตินิยมเป็นพหุนิยมที่เชื่อเรื่องความมากมายหลายหลากว่าในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริง
ข้อสอบ PY 103 6
มากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลที่ยาวนานนั้นได้มีสิ่งใหม่

เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ทีเกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่และมีคุณภาพใหม่ที่ไม่สามารถทอนลงเป็น
อะตอมกับการเคลื่อนไหวของอะตอมได้เลย
21. อเนกมีทัศนะในชีวิตของตนว่า “กิน ดื่ม
และใช้ชีวิตให้มีความสุขในโลกนี้” ความคิดของอเนกจัดอยู่ใน
ลัทธิอภิปรัชญาธรรมชาติมนุษย์ในข้อใด
(1) จิตนิยม (2) สสารนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม (4) โลกาภิวัตน์นิยม
ตอบ 2 สสารนิยม เชื่อว่า มนุษย์ควรมุ่งแสวงหาสิ่งต่าง
ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ให้ได้รับความสุขสบายมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสี่ ชื่อเสียง
เงินทอง หรืออำนาจ
22. เสรีภาพของมนุษย์เกิดจากเหตุใด
(1) จิต (2) กาย
(3) เป็นกลไกทำงานของสมองและระบบประสาท (4) ผลพวงวิวัฒนาการของจิตและกาย
ตอบ 1 พวกจิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ
2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย แต่จิตสำคัญกว่าเพราะเป็น
ตัวตนที่แท้จริงและมีสภาวะที่เป็นอมตะ ส่วนร่างกายนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเกิดดับได้
ดังนั้น
วิถีชีวิตของแต่ละคนย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิต โดยร่างกายจะเป็นเพียงการ
สนองตอบเจตจำนงของจิตเท่านั้น
23. นายบูรพามีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ต้องการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะเพราะต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ
นายบูรพาเป็นคนมีจิตภาคใดในทัศนะของเพลโต
(1) ตัณหา (2) น้ำใจ (3) เหตุผล (4) จิตสำนึก
ตอบ 2 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น
3 ภาค ดังนี้
1. ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมา
สนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข
2 .ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
การยึดถือเกียรติและสัจจะเป็น
สำคัญ โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ
3. ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดย
อาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี
ความงาม และความ
ยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้
24. ข้อใดแสดงธรรมชาติมนุษย์ในทัศนะธรรมชาตินิยม
(1) มนุษย์เป็นสัตว์ (2) มนุษย์เป็นนักบุญ
(3) มนุษย์เป็นมนุษย์ (4) มนุษย์เป็นทั้งสัตว์และเป็นทั้งนักบุญ
ตอบ 4 ตามทฤษีวิวัฒนาการของพวกธรรมชาตินิยม
เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งใหม่ซึ่งเป็นผลผลิตขั้นสุดยอด
ข้อสอบ PY 103 7
ของวิวัฒนาการ กล่าวคือ มนุษย์จะประกอบด้วยร่างกายและจิตใจซึ่งจิตใจของมนุษย์นี้เองที่ทำ
ให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ ดังนั้นจึงทำให้มนุษย์มีสภาพที่เป็นทั้งสัตว์
(ในส่วนของร่างกาย) และ
นักบุญ (ในส่วนของจิตใจ) ในสิ่งเดียวกัน
25. ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเจ้าทรงส่งบุตรของพระองค์คือพระเยซูคริสต์มายังโลกเพื่อไถ่บาปให้มนุษย์พบทาง
รอดพระเจ้าในศาสนาคริสต์เป็นพระเจ้าแบบใด
(1) Deism พระเจ้าอยู่ในโลกและนอกโลก
(2) Deism พระเจ้าทรงอยู่เหนือโลกเด็ดขาด
(3) Theism เชื่อว่าพระเจ้าทรงอยู่ในโลกและเหนือโลก
(4) Theism เชื่อว่าพระเจ้าทรงอยู่เหนือโลกเด็ดขาด
ตอบ 2 ลัทธิเทวนิยม (Deism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นมหาเทพที่สูงสุดอยู่เพียงพระองค์เดียวซึ่งอยู่นอก
โลกและทรงอยู่เหนือโลกเด็ดขาด โดยพระองค์สร้างโลกขึ้นมาจากความว่างเปล่า
แล้วทรงมอบ
พลังต่าง ๆ ให้แก่โลก และให้พลังเหล่านั้นควบคุมโลกให้ดำเนินไป
ส่วนลัทธิสรรพเทวนิยม
(Theism) เชื่อว่า
พระผู้เป็นเจ้าเป็นสภาวะทั้งที่อยู่เหนือโลกและอยู่ในโลก แต่อยู่เหนือวิญญาณ
มนุษย์โดยประการทั้งปวง
26. คำกล่าวที่ว่า “เห็นพระเจ้าหรือจักรวาลในเม็ดทราย”
จัดอยู่ในความคิดใด
(1) พระเจ้าอยู่ในโลกและอยู่เหนือโลก (2) พระเจ้าอยู่นอกโลก
(3) พระเจ้าทรงอยู่ในโลกและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโลก (4) พระเจ้าเกิดจากโลก
ตอบ 3 ลัทธิสกลเทพนิยม (Pantheism) เชื่อว่า พระเจ้าทรงอยู่ในโลกและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโลก
รวมทั้งอยู่ในวิญญาณมนุษย์ เป็นพระเจ้าที่ใกล้ชิดกับมนุษย์และโลกมากที่สุด
ดังนั้นพระผู้เป็น
เจ้าก็คือสิ่งทั้งปวงและสิ่งทั้งปวงก็คือพระผู้เป็นเจ้า
27. พระเจ้ามีอยู่จริงเพราะดลใจให้มนุษย์ผู้เป็นสิ่งจำกัดคิดถึงพระเจ้าที่เป็นสิ่งไร้จำกัด
ทฤษฎีที่พิสูจน์การมีอยู่
ของพระเจ้านี้คือทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีเชิงเอกภพ (2) ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์
(3) ทฤษฎีเชิงภววิทยา (4) ทฤษฎีเชิงจริยธรรม
ตอบ 3 ทฤษฎีเชิงภววิทยา ถือว่า
พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ส่วนมนุษย์เป็น
สิ่งสัมพัทธ์และเป็นสิ่งจำกัด ซึ่งการที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้นเกิดจากพระเจ้าเป็น
ต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่
28. ความคิดที่ว่าผู้ปกครองเป็นสมมติเทพมีความหมายเช่นใด
(1) เทพได้คัดเลือกส่งผู้ปกครองมาปกครอง (2) ผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเทพ
(3) ตนเป็นเผ่าพันธุ์ที่พระเจ้าเลือกสรร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ทฤษฎีการอ้างเทวสิทธิ์ (Divine
Right) ถือว่า ผู้ปกครองเปรียบเสมือนสมมติเทพที่ได้รับการ
ข้อสอบ PY 103 8
คัดเลือกจากเทพผู้ยิ่งใหญ่ให้มาเป็นผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองขอตนสืบเชื้อสายและมีส่วน
เกี่ยวข้องกับเทพที่ชนชาตินั้น ๆ นับถือ ทำให้พลเมืองที่อยู่ในชนชาติเหล่านี้
มักเชื่อว่าตนเป็น
เผ่าพันธุ์ที่พระเจ้าเลือกสรรจึงเป็นประเทศที่สูงส่งกว่าชนชาติอื่น ๆ
29. ปัญหาปรัชญาของปรัชญาเชน ปรัชญาฮินดู และพุทธปรัชญา คืออะไร
(1) มนุษย์จะดำเนินชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติและสังคมได้อย่างไร
(2) มนุษย์จะมีสภาพอมตะได้อย่างไร
(3) มนุษย์จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร
(4) มนุษย์จะรู้ได้อย่างไรว่าเนื้อแท้ของโลกเป็นจิตหรือสสาร
ตอบ 3 ปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อของปรัชญาอินเดีย
(ปรัชญาเชน ปรัชญาฮินดู และพุทธปรัชญา)
คือ มนุษย์จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร โดยลักษณะร่วมของปรัชญาเหล่านี้
คือ เชื่อในกฎ
แห่งกรรม ถือว่าสภาพของมนุษย์นั้นเป็นผลของกรรมเก่าที่มนุษย์ได้กระทำลงไปในอดีต
ดังนั้นผู้
ที่ต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์ในชีวิตและการเวียนวายตายเกิด จึงต้องพยายามปฏิบัติตนและ
มุ่งแสวงหาความจริงอันเป็นที่สุดของชีวิต
30. ปรัชญากลุ่มใดที่ไม่ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท
(1) โยคะ (2) จารวาก (3) เวทานตะ (4) ไวเศษิกะ
ตอบ 2 ลัทธิที่เป็นปรัชญาหรืออภิปรัชญาอินเดีย
มี 2 สาย ดังนี้
1. สายอาสติกะ คือ กลุ่มอภิปรัชญาที่ยอมรับนับถือความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของคุมภีร์พระ
เวท ได้แก่ ปรัชญาฮินดู คือ ปรัชญานยายะ ไวเศษิกะ สาวขยะ โยคะ
มีมางสา และ
เวทานตะ
2. สายนาสติกะ คือ กลุ่มอภิปรัชญาที่ไม่ยอมรับนับถือความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์
พระเวท ได้แก่ ปรัชญาจารวาก พุทธปรัชญา และปรัชญาเชน
3.
31. ปรมาณูตามทัศนะของไวเศษิกะคือข้อใด
(1) น้ำ (2) อากาศ (3) ดิน
น้ำ ลม ไฟ (4) จิต
ตอบ 3 ปรัชญาไวเศษิกะ ถือว่า
ปรมาณูซึ่งเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสิ่งต่าง ๆ มีอยู่ 4 ชนิด
คือ ดิน น้ำ
ลม ไฟ โดยปรมาณูของลม เป็นปรมาณูที่ละเอียดอ่อนที่สุด รองลงมาตามลำดับก็คือ
ปรมาณู
ของไฟ ปรมาณูของน้ำ และปรมาณูของดิน
32. ข้อใดไม่ใช่คำอธิบายคุณสมบัติปรมาณูของลัทธิไวเศษิกะ
(1) โลกเกิดจากปรมาณู (2) เป็นการรวมตัวและการสลายตัวโดยตัวมันเอง
(3) มีขนาด สี เสียง กลิ่น รส ที่แตกต่างกัน (4) สัมผัสได้และไม่ได้
ตอบ 2 ปรัชญาไวเศษิกะ เชื่อว่าปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิ
(รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก) และคุณสมบัติ
ข้อสอบ PY 103 9
ทุติยภูมิ (สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ซึ่งแต่ละปรมาณูจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
แต่โดย
ธรรมชาติแล้วปรมาณูเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพและไร้จลนภาพ (เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วยตนเอง) จึงอยู่
ในภาวะที่หยุดนิ่งตลอดเวลา ทั้งนี้การรวมตัวและการสลายของปรมาณูเกิดจากการกระทำของ
อำนาจที่มองไม่เห็น โดยมีเจตจำนงของพระเจ้าเป็นสิ่งผลักดันและชักจูง
33. ข้อใดคือคุณสมบัติของพรหม
(1) พรหมดำรงอยู่ในกาลและอวกาศ (2) พรหมสามารถรู้ได้ด้วยเหตุผล
(3) พรหมดำรงอยู่ด้วยตนเอง (4) พระเจ้าสร้างพรหม
ตอบ 3 พรหมันหรือพรหมเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่เหนือผู้รู้
สิ่งที่ถูกรู้ และผู้รู้ พรหมันเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เป็น
สิ่งสมบูรณ์แท้จริงสิ่งเดียว ดำรงอยู่เหนือกาลและอวกาศ เป็นเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งต่าง

และเป็นที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง ไม่มีเบื้องต้น และไม่มีที่สิ้นสุด
แต่ดำรงอยู่ได้ด้วยสภาวะของ
ตนเอง และไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอธิบายเชิงยืนยันเป็นภาษาหรือคำพูด แต่สามารถบรรยาย
ลักษณะของพรหมันได้ด้วยการใช้ถ้อยคำปฏิเสธ
34. ความคิดปรัชญาจีนคือข้อใด
(1) มุ่งเน้นปัญหาอภิปรัชญาเพื่อเข้าใจชีวิต
(2) มุ่งเน้นความรู้เพื่อการปกครอง
(3) มุ่งเน้นความประพฤติของมนุษย์เพื่อความหลุดพ้น
(4) มุ่งเน้นความประพฤติของมนุษย์เพื่อความกลมกลืนธรรมชาติและสังคม
ตอบ 1 อภิปรัชญาจีนจะมุ่งเน้นปัญหาอภิปรัชญาที่ให้มนุษย์รู้จักปฏิบัติตนเพื่อเข้าถึงและรู้จักสิ่งสมบูรณ์
แห่งเอกภพหรือที่เรียกว่า เต๋า ซึ่งเต่านี้ก็คือ
ธรรมชาติสิ่งหนึ่งที่จะมีสภาพเป็นอมตะ ไม่มี
เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
โดยสรรพสิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้นและดับลงในเต๋านี้
35. ข้อใดคือคำอธิบายความหมายหยินและหยางที่ถูกต้อง
(1) หยางและหยินคือสสารบวกและลบ (2) สรรพสิ่งให้กำเนิดหยินและหยาง
(3) หยินและหยางคือพลังที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 อภิปรัชญาจีน เชื่อว่า
หยางเป็นพลังทางบวก และหยินเป็นพลังทางลบโดยมูลธาตุทั้ง 2 เป็น
สภาวะอันมีอยู่ประจำในจักรวาล เป็นระเบียบของจักรวาล
และเป็นสภาวะของสรรพสิ่งใน
จักรวาล ทั้งหยางและหยินต่างก็สัมพันธ์กันในลักษณะสามัคคีซึ่งเท่ากับเป็นปฐมธาตุคู่บวกคู่ลบ
ของโลก
36. ข้อใดอธิบายเต๋าได้ถูกต้องที่สุด
(1) เต๋ามีอยู่ในคนดีเท่านั้น (2) เต๋าคือธรรมชาติ
(3) เต๋าคือสิ่งเหนือธรรมชาติ (4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 10
37. น้ำชาล้นถ้วย ข้อตัวอย่างนี้อธิบายเรื่องความรู้ในปรัชญาเต๋าอย่างไร
(1) ความรู้ทำให้รู้จักเต๋า (2) ความรู้ทำให้หลงลืมเต๋า
(3) ความรู้ทำให้ไม่รู้จักตนเอง 4) ถูกทั้งข้อ
2 และ 3
ตอบ 4 เล้าจื้อ อธิบายว่า ความรู้ในเต๋าจะสามารถหาได้ภายในตนเองเท่านั้น
ส่วนความรู้ทางโลก อัน
เป็นความรู้ภายนอกไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์ที่จะช่วยตนให้บรรลุเต๋าได้
ดังนั้นมนุษย์ทุกคนซึ่งมีเต๋า
อยู่ในตนเองอยู่แล้ว แต่ถูกความเขลาบังอยู่ หากสามารถกำจัดความเขลานั้นได้
ตนก็จะเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกับเต๋า
38. เต๋าเป็นเหตุให้เกิดหนึ่ง หนึ่งเป็นเหตุให้เกิดสอง
สองเป็นเหตุให้เกิดสาม และสามเป็นเหตุให้เกิดสรรพสิ่ง
มีความหมายอย่างไร
(1) สรรพสิ่งเกิดจากเหตุ (2) เต๋าเป็นปฐมธาตุของทุกสิ่ง
(3) เต๋าอยู่นอกโลก (4) เต๋าอยู่ในโลกและนอกโลก
ตอบ 2 เต๋าเป็นสิ่งสมบูรณ์และเป็นอมตะ
ดำรงอยู่ตลอดกาล ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรมาปรุงแต่งมันได้ แต่
เต๋าก็ไม่อยู่นิ่ง ๆ เพราะมันได้สร้างสรรค์ให้เกิดจักรภพชีวิตขึ้นมา
ดั่งตำราเต๋าเตกเก็งบทที่ 42
ที่ว่า “เต๋าเป็นเหตุให้เกิดหนึ่ง
หนึ่งเป็นเหตุให้เกิดสอง สองเป็นเหตุให้เกิดสามและสามเป็นเหตุ
ให้เกิดสรรพสิ่ง” ซึ่งหมายความว่า เต๋าเป็นปฐมธาตุของทุกสิ่ง
39. ในท่าทีของพุทธปรัชญาเถรวาท เมื่อเราพบคนถูกแทง เราจะทำอย่างไรกับคนเจ็บ
(1) ตามหาผู้ร้าย (2) ตรวจดูอาวุธว่าทำจากวัสดุอะไร
(3) รีบพาผู้บาดเจ็บไปหาหมอ (4) อ่านตำราเพื่อช่วยคนเจ็บ
ตอบ 3 หลักคำสอนของพุทธปรัชญาเถรวาท จะมุ่งเน้นการหาหนทางในการดับทุกข์และพบความสงบ
ทางจิตใจ โดยยึดหลักอริยสัจ 4 หรือของจริงอย่างประเสริฐที่ผ่านการพิสูจน์ทางเหตุและผลโดย
ลำดับ ซึ่งประกอบด้วย 1. ทุกข์ 2. สมุทัย 3. นิโรธ 4. มรรค ดังนั้นหากผู้ใดพบเห็นผู้ที่
ประสบปัญหาเกี่ยวกับความทุกข์ไม่ว่าจะด้านใด ก็ควรให้ความช่วยเหลือโดยตรงจากต้นตอที่ทำ
ให้เกิดทุกข์นั้น
40. ข้อใดอธิบายหลักการอริยสัจสี่ได้ถูกต้องที่สุด
(1) อริยสัจสี่คือความจริงที่หลีกเลี่ยงการสุดโต่งทั้งสองทาง
(2) อริยสัจสี่คือความจริงผ่านการพิสูจน์ทางเหตุผล
(3) อริยสัจสี่คือความจริงเหนือเหตุผล
(4) อริยสัจสี่คือทางสายกลางเพื่อประนีประนอมทางสุดโต่งทั้งสองทาง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 11
41. ตามหลักพุทธศาสนาความทุกข์เกิดจาก
(1) สังคมและสิ่งแวดล้อม (2) ความยากจน
(3) ความอยากมี อยากเป็น (4) ความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
ตอบ 3 ตามหลักพุทธศาสนานั้น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์
(สมุทัย) คือ ตัณหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3
ประเภท ได้แก่
1. กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณ
2. ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น
3. วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่มี อยากไม่เป็น ดังที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่
42. “ฉันไม่อยากมีตีนกาเลย” จัดว่าเป็นตัณหาแบบไหน
(1) กามตัณหา (2) ภวตัณหา (3) วิภวตัณหา (4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ
43. ความคิดใดที่จัดเป็นสัมมาทิฐิ
(1) ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี (2) วิธีการทุกวิธีการถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย
(3) บุญ บาปมีจริง (4) โลกหน้าไม่มีอยู่จริง
ตอบ 3 สัมมาทิฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ) เป็นข้อปฏิบัติในส่วนของการอบรม
ความเห็นที่เรียกว่า ปัญญา
ซึ่งหมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาถึงความจริงในอริยสัจ 4 เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลของทุกข์และ
เหตุผลของการดับทุกข์ เช่น ความเห็นชอบเรื่องบุญ-บาปมีจริง เพราะเป็นเครื่องเตือนสติให้
มนุษย์รู้จักยับยั้งชั่งใจหากจะทำความผิดใด ๆ เป็นต้น
44. ข้อปฏิบัติที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า
(1) ศีล (2) สมาธิ (3) ปัญญา
(4) ทิฐิ
ตอบ 1 มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์โดยจะแบ่งออกเป็น
3 ส่วน
ดังนี้ คือ
1. ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล”
ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2. ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ
3. ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา”
ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมา
สังกัปปะ
45. อาชีพใดที่จัดเป็นสัมมาอาชีวะในทางพุทธศาสนา
(1) อาชีพออกหวยทั้งใต้ดินและบนดิน (2) นักโฆษณา
ๆ สินค้ามอมเมาประชาชน
(3) อาชีพบริการเงินด่วน (4) ผิดทุกข้อ
ข้อสอบ PY 103 12
ตอบ 4 สัมมาอาชีวะเป็นธรรมข้อหนึ่งในมรรค 8
ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบสัมมาชีพ
ที่สุจริต ละมิจฉาชีพทั้งปวง ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นภัยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
รวมทั้ง
ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วย
46. ข้อใดเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในทัศนะของเหตุผลนิยม
(1) ไม้ย่อมจะลอยน้ำได้ (2) เส้นขนานย่อมไม่บรรจบกัน
(3) อากาศจะหนาวเย็นในเดือนธันวาคม-มกราคม (4) ฝนจะตกชุกในเดือนกันยายน-ตุลาคม
ตอบ 2 ลัทธิเหตุผลนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้ความจริงทั้งหลายในจักรวาลได้โดยไม่ต้องมี
ประสบการณ์มายืนยันหรือที่เรียกว่า “ความรู้ก่อนประสบการณ์”
(A Priori Knowledge) ซึ่ง
เป็นความจริงที่จำต้องเป็น (The Necessary Truth) หรือความจริงที่แน่นอนตายตัว และ
สามารถรู้ได้โดยใช้ “อัชฌัตติกญาณ” คือการหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจ หรือแสงสว่างแห่งเหตุผล
อันเป็นความรู้ที่เกิดจากการคิดได้ด้วยตนเอง เช่น เส้นขนานย่อมไม่มีวันมาบรรจบกัน,
สิ่งหนึ่ง
ไม่อาจจะอยู่ในสถานที่สองแห่งในเวลาเดียวกันได้, สิ่งที่เท่ากันหักออกด้วยจำนวนที่เท่ากันย่อมมี
ส่วนเหลือที่เท่ากัน ฯลฯ
47. มนุษย์จะรู้ในความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยสิ่งใดในทัศนะของเหตุผลนิยม
(1) ประสาทสัมผัส (2) การรวบรวมข้อมูล
(3) การทดลอง (4) การหยั่งรู้ด้วยจิตหรือปัญญา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48. วิธีการหาเหตุผลแบบใดที่พวกเหตุผลนิยมเชื่อถือมากที่สุด
(1) อุปนัย (2) นิรนัย
(3) การอ้างเหตุผลเปรียบเทียบ (4) วิธีอนุมาน
ตอบ 2 เหตุผลนิยมจะยอมรับวิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัย
(Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใด
ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก
แล้วก็ใช้ความคิด
สืบสาวจากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้างที่เป็นลักษณะสากล
ถ้าข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งข้อสรุปที่ได้จะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละ
เหตุการณ์ เช่น วิธีคิดตามหลักคณิตศาสตร์ เรขาคณิตและพีชคณิต
49. ลัทธิเหตุผลนิยมเห็นด้วยกับความหมายของการรู้โดย “อัชฌัตติกญาณ” ในข้อใด
(1) การรู้โดยตรงด้วยประสาทสัมผัส (2) การรู้จากการคาดเดา
(3) การรู้โดยพระเจ้าบันดาลให้ (4) การรู้โดยตรงด้วยการหยั่งรู้ของจิต
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 13
50. ลัทธิประจักษนิยมเห็นด้วยกับความหมายของการรู้โดย “อัชฌัตติกญาณ” ในข้อใด
(1) การรู้โดยตรงด้วยประสาทสัมผัส (2) การรู้จากการคาดเดา
(3) การรู้โดยพระเจ้าบันดาลให้ (4) การรู้โดยตรงด้วยการหยั่งรู้ของจิต
ตอบ 1 การรู้โดยอัชฌัตติกญาณของพวกประจักษนิยม
หมายถึง การมีความรู้ความเข้าใจโดยตรงใน
ความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส
เช่น สิ่งที่ฉันมองเห็น
ในขณะนี้มีสีแดง มือได้สัมผัสความเย็นของน้ำแข็ง
สิ้นได้
MongioMC
MongioMC
ผู้ร่วมแบ่งปันขั้นสูง
ผู้ร่วมแบ่งปันขั้นสูง

จำนวนข้อความ : 234
Points : 364
น้ำใจงดงาม : 86
Join date : 27/05/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ตัวอย่างข้อสอบ PY103 ส่วนภูมิภาค Empty Re: ตัวอย่างข้อสอบ PY103 ส่วนภูมิภาค

ตั้งหัวข้อ by putchanok Sun Feb 12, 2012 9:14 pm

วิชานี้สอบมา2ครั้งแล้ว ตก ทำไงดี

putchanok
ผู้สังเกตการณ์
ผู้สังเกตการณ์

จำนวนข้อความ : 2
Points : 2
น้ำใจงดงาม : 0
Join date : 12/02/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ